ศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์

ส่วนที่ 1 สังเขปชีวประวัติและการรับราชการ

เกิด                    วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2504 ที่ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
ที่อยู่ปัจจุบัน      141 / 3 หมู่บ้านเฮาควอลิตี้เฮ้าส์ ถนนถีนานนท์                                                                              ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000                                                                    Mobile : 08-6634-9005  Email : singyabuth@gmail.com
                            Facebook : Supachai Singyabuth

ตำแหน่งทางวิชาการและที่ทำงาน

                           ศาสตราจารย์ ระดับ 10 คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์
                           มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150

ตำแหน่งบริหารและที่ทำงาน

                           คณบดี คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์
                           มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150

การศึกษา

ระดับปริญญาเอก ปร.ด. ไทศึกษา (Tai Studies) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (2551) ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “หลวงพระบางเมืองมรดกโลก : พื้นที่พิธีกรรมและการ ต่อรองเชิงอัตลักษณ์ในกระแสโลกาภิวัตน์” ใช้วิธีการวิจัยวิจัยเชิงมานุษยวิทยา ทุนสนับสนุนการวิจัยโดย The Jim Thomson Foundation และ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย               1) อาจารย์ ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ (ประธาน) 2) Professor Dr. Charles F. Keyes (กรรมการ)  3) รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม (กรรมการ)   และ 4) ศาสตราจารย์ ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ (กรรมการ) วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ได้รับการเขียนเป็นบทความภาษาอังกฤษ 3 เรื่อง และนำเสนอในการสัมมนาทางวิชาการนานาชาติ 3 ครั้ง คือ 1) ที่มหาวิทยาลัยอันเจียง เวียดนาม 2) ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3) ที่ เมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว ดังปรากฏในการ
นำเสนอผลงานวิชาการ ส่วนงานวิทยานิพนธ์ได้รับการปรับปรุงตีพิมพ์เป็นหนังสือเผยแพร่ โดย บริษัทสำนักพิมพ์เดือนตุลา จำกัด พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2553

ระดับปริญญาโท กศ.ม.ศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (2535) ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การวิเคราะห์ทัศนศิลป์เพื่อชีวิตในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2475-2533” ใช้วิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ศิลป์ เป็นวิทยานิพนธ์ที่ได้รับคัดเลือกให้ทุนสนับสนุนการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปีการศึกษา 2534 คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย 1) ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ (ประธาน) 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำนาจ เย็นสบาย (กรรมการ) วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์โดยบริษัทสำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ จำกัด ชื่อ “ทัศนศิลป์เพื่อชีวิตในประเทศไทย” ในปี พ.ศ. 2536

ระดับปริญญาตรี กศ.บ. ศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ    มหาสารคาม (2529)

ระดับอนุปริญญา ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง (ปก.ศ.สูง) สาขาศิลปศึกษาวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ (2525)

เกียรติคุณจากสถานศึกษาดั้งเดิม

2554 : รับรางวัลและเกียรติบัตร ศิษย์เก่าดีเด่นงานเฉลิมฉลองครบรอบ                              40 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ [13 พฤศจิกายน 2554]2555 : รับโล่เกียรติคุณ ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนฝึกหัดครู วิทยาลัยครู และมหาวิทยาลัยราชภัฎ ในโอกาสครบรอบ 120 ปี การฝึกหัดครูไทย ถวายองค์ราชัน  ธ ผู้เป็นครู แห่งแผ่นดิน วันที่ 27 ธันวาคม 2555

บทบาททางวิชาการ-วิจัย ระดับชาติและนานาชาติ

ได้รับคัดเลือกบทความรวมเล่ม หนังสือวิชาการระดับนานาชาติ
มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร คัดเลือกบทความรวมเล่ม หนังสือวิชาการระดับนานาชาติ
2559 : Supachai Singyabuth (2016). Walking from the “Head to Tail of Town”: The Political Identities and Social Memories of Luang Prabang. In Ploysri Porananond and Victor T. King (eds.)Tourism and Monarchy in Southeast Asia. Newcastle upon Tyne, UK: Cambridge Scholars Publishing. pp.143-165

นักวิจัยของ ASIAN SCHOLARSHIP FOUNDATION
2551-2552 : เป็น 1 ใน 2 ของนักวิชาการมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และ 1 ในจำนวน 31 คน ของนักวิจัยของประเทศในเขตเอเชีย ที่ได้รับการคัดเลือกสนับสนุนการทำงานวิจัยข้ามชาติรุ่นที่ 8 ของ ASIA FELLOWS AWARLDS ซึ่งข้าพเจ้าได้ทำงานวิจัยเรื่อง ‘Si Phan Don’, The Four Thousand Islands in Kong River at South of Laos PDR. : Cultural Space, Tourism Space and Negotiating Identity in The Process of Globalization ที่บริเวณหมู่เกาะกลาง แม่น้ำโขง ในเขตตอนใต้สุด ของ สปป.ลาว ติดต่อกับกัมพูชา 2552 – ปัจจุบัน : หลังจากการทำงานวิจัยสิ้นสุดจนถึงปัจจุบัน ก็เป็นเครือข่ายการวิจัยของนักวิจัย เอเชีย และทำหน้าที่พิจารณาให้ข้อเสนอแนะแก่นิสิต นักศึกษา และนักวิจัยที่จะขอทุนศึกษาต่อ และขอทุนวิจัยจาก ASIAN SCHOLARSHIP FOUNDATION 

ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ ปรากฏในห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐอเมริกา  จำนวน 7 รายการ และห้องสมุดแห่งชาติของหลายประเทศ

ส่วนที่ 2 : บทบาทและผลงานวิชาการ และการวิจัย

บทบาทด้านการวิจัยและวิชาการสำคัญที่กำลังทำหน้าที่รับผิดชอบในปัจจุบัน

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการ

          กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการ ประเภทบุคคลภายนอก สภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราช ภัฏสกลนคร (พ.ศ. 2552–กุมภาพันธ์ 2557 และ 2559-ปัจจุบัน /   
2 วาระต่อเนื่อง และ วาระที่ 3ในปัจจุบัน)
           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการ ประเภทบุคคลภายนอก สภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (พ.ศ. 2559– ปัจจุบัน)
           พ.ศ.2558 – ปัจจุบัน : กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการ ประเภทบุคคลภายนอก คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
          กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการและกรรมการบริหารวิชาการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2551-2559)
          ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ ของ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ด้านทัศนศิลปกรรม ศิลปะประยุกต์ และ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินข้าราชการครูเชิงประจักษ์ด้านศิลปศึกษา ระดับ เชี่ยวชาญ (ระดับ 9) ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กระทรวงศึกษาธิการ
         ที่ปรึกษาโครงการวิจัย และ พัฒนาของผู้รับทุนวิจัย จาก สกว และ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งผู้ประกอบการ SME กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จำนวนมากกว่า 10 โครงการ [ในปัจจุบัน]         ผู้ทรงคุณวุฒิการวิพากษ์หลักสูตรระดับปริญญาตรี โท เอก และวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับ ชาติพันธุ์ มานุษยวิทยาวัฒนธรรม ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม ศิลปกรรมศาสตร์ และ ศิลปกรรมร่วมสมัย การวิจัยศิลปกรรม ศิลปะในมิติวัฒนธรรม ศิลปะในระบบการศึกษา การวิจัยเพื่อพัฒนาศิลปกรรมในระบบอุตสาหกรรม การพัฒนาผลงานวิชาการทางศิลปะ ศิลปะเพื่อการพัฒนาชุมชน และสังคมตามวาระและโอกาสต่าง ๆ จำนวนหลายสิบครั้ง อาทิ มศว ประสานมิตร, มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์,มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ รวมทั้งสถาบันการศึกษาใน สปป.ลาว คือ ที่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวสถาบันวิจิตรกรรมแห่งชาติ นครหลวงเวียงจันทน์ และสถาบันวิจิตรกรรมจำปาสัก และสถาบันวิจิตรกรรมหลวงพระบาง สปป.ลาว ฯลฯ
         กรรมการพัฒนาเกณฑ์และประเมินผลงานผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับประเทศ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
         ประธานกรรมการพัฒนาตราสินค้า (Brand Name) “ผ้าไหมนครชัยบุรินทร์” ของกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และ สุรินทร์)
         ฯลฯ

ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินโครงการวิจัย

         เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประเมินโครงการวิจัยเพื่อสนับสนุนทุนวิจัย และประเมินรายงาน การวิจัยให้กับองค์กรสนับสนุนทุนวิจัย และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ และ ศิลปวัฒนธรรม ดังนี้
         โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ การสร้างแบรนด์ให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือ OTOP และ SME ให้กับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
          โครงการวิจัยชายแดนที่มีพื้นที่วิจัยติดต่อกับ สปป.ลาว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว.
          ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
          ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
          ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
          ฝ่ายวิจัย  มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำวารสาร และผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรอง
บทความวิชาการ
         เป็นผู้ทรงคุณวุฒิประจำวารสาร และผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความวิชาการ (Peer review) ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ และ ศิลปวัฒนธรรม ให้กับวารสารทางวิชาการ ของสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้
          มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
          มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร : วารสารศิลปกรรมศาสตร์
(คณะศิลปกรรมศาสตร์), วารสารสถาบันวิจัยวัฒนธรรมและศิลปะ
          มหาวิทยาลัยขอนแก่น : วารสารศิลปกรรมศาสตร์ (คณะศิลปกรรมศาสตร์)
และวารสารสังคมศาสตร์ลุ่มน้ำโขง (ของศูนย์วิจัยพหุลักษณ์ลุ่มน้ำโขง)
          มหาวิทยาลัยนเรศวร : วารสารอารยธรรมโขงสาละวิน
          มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : วารสารศิลปศาสตร์ (คณะศิลปศาสตร์)
          มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร : วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
          มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม : วารสารช่อพะยอม
          มหาวิทยาลัยราชมงคลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : วารสารวิจัยและพัฒนา
         ฯลฯ

การเรียนการสอนระดับปริญญาเอก (2551-ปัจจุบัน)

         สอนและดูแลวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยมหาสารคามและเป็น อาจารย์พิเศษระดับปริญญาเอกต่างมหาวิทยาลัย ดังนี้
         ประธานหลักสูตร ปรด. และ ศศ.ม. สาขาวัฒนธรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
         อาจารย์ประจำหลักสูตร วิจัยและสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์ (2558-ปัจจุบัน) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
        เป็นผู้บุกเบิกการเปิดรับนิสิตต่างประเทศเข้ามาศึกษาต่อในหลักสูตรวัฒนธรรมศาสตร์ และหลักสูตรการวิจัยและสร้างสรรค์ศิลปกรรมศาสตร์
        อาจารย์พิเศษรับผิดชอบการสอนตลอดรายวิชา ประจำวิชา AR 712 : Art and Cultureand Cultural Anthropology Research หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปวัฒนธรรมวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว ประสานมิตรกรุงเทพมหานคร)
         อาจารย์พิเศษผู้สอนร่วม วิชาการวิจัยขั้นสูงทางศิลปวัฒนธรรม หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
         สาขาการวิจัยทางศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยากรและอาจารย์บรรยายทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยมหาสารคามหลายหลักสูตร

บทบาท ผลงาน วิชาการด้านมนุยศาสตร์ สังคมศาสตร์และ
ศิลปกรรมศาสตร์

        2559 : ผู้บรรยายนำ งานสัมมนา “แม่น้ำโขง สายน้ำธรรมชาติและวัฒนธรรม” ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2559 upload ไว้ในยูทูปที่ https://www.youtube.com/watch?v=W9lQEuEYmmI18
        2559 : เป็นองค์ปาฐก (Keynote Speaker) การสัมมนาทางวิชาการระดับชาติ
ด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เรื่อง การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับสากลในบริบทอาเซียน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2559
2558-ปัจจุบัน : เป็นผู้ประสานงาน (Coordinator) คณบดีด้านศิลปะ และวัฒนธรรม อาเซียน ตอนบน กลุ่มเครือข่ายสถาบันศิลปะ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ ไทย และเวียดนาม ซึ่งได้จัด กิจกรรมร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2558 โดยจัดงานใหญ่ที่ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2559 และ ที่ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 และมีโครงการ จัดการสัมมนาใหญ่ที่กัมพูชา ในเดือน พฤศจิกายน 2559 ฯลฯ 
2555 : เป็นองค์ปาฐก (Keynote Speaker) การสัมมนาดนตรีอาเซียน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฯลฯ2550-ปัจจุบัน : องค์ปาฐก และคณะกรรมการวิชาการศิลปกรรมเพื่อสันติภาพ ประชาธิปไตย และความเป็นธรรม สถาบันปรีดีพนมยงค์ และองค์ปาฐกถางานสัมมนาทางศิลปกรรมต่าง ๆ จำนวนมาก อาทิ ล่าสุด 25 กันยายน
2550-ปัจจุบัน : องค์ปาฐก และคณะกรรมการวิชาการศิลปกรรมเพื่อสันติภาพ ประชาธิปไตย และความเป็นธรรม
2546-2547 : เป็นประธานคณะกรรมการวิจัยสาขาปรัชญา กลุ่มทัศนศิลป์ สำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติ โดยได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการวิจัยสาขาปรัชญา กลุ่มทัศนศิลป์ ประกอบด้วย คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยทุกมหาวิทยาลัย และนักวิจัย นักวิชาการด้านทัศนศิลป์และโบราณคดีของประเทศไทย 

บทบาทหน้าที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับ สปป.ลาว
ในฐานะนักวิชาการไทย

             2543 – ปัจจุบัน : เป็นกรรมการบริหารศูนย์ข้อมูลลาว กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมกับทำหน้าที่กลั่นกรองบทความ ข้อความก่อนที่จะถูกตีพิมพ์เผยแพร่ เพื่อไม่ให้เกิดความบาดหมางระหว่างประเทศ และสร้างสรรค์มิตรภาพระหว่างไทย กับ สปป.ลาว ในสารมิตรภาพไทย-ลาว 
            2553 : เป็นนักวิจัยที่ได้รับคัดเลือกโดยตรง จากกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำเนินโครงการวิจัย ในชุดโครงการวิจัยเพื่อศึกษาความคิดเห็นของประเทศเพื่อนบ้าน  ที่มีต่อประเทศไทยและคนไทย ในส่วน ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว งานวิจัยนี้ดำเนินโครงการและปิดโครงการในปี พ.ศ. 2553 และบทบาทของข้าพเจ้าภายหลังจากงานวิจัยดังกล่าวเสร็จสิ้นลง คือ เป็นผู้ทำหน้าที่บรรยาย พิเศษให้กับบุคลากรไทยที่จะเข้าไปทำงานใน สปป.ลาว และเป็นที่ปรึกษาให้กับกระทรวงการ ต่างประเทศ และ สถานเอกอัครราชทูตไทยใน นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ที่เกี่ยวกับความเข้าใจ และความอ่อนไหวในความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ สปป.ลาว
           2553 : เป็นหนึ่งในคณะผู้แทนฝ่ายไทย ร่วมปาฐกถาพิเศษในการประชุมทวิภาคี เนื่องในวาระครบรอบ 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยกับ สปป.ลาว ระหว่าง วันที่ 20 – 23 ธันวาคม 2553 ณ เมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว
           2555 : 1 ใน 4 ของนักวิชาการไทย ในฐานะ ‘ปรัชญาเมธีด้านประเทศเพื่อนบ้าน’ ของกระทรวงการต่างประเทศ ในกลุ่ม CLMV [Cambodia, Lao PDR., Myanmar, Vietnam ] ในการนำเสนอทัศนะและความคิดเห็นต่อประเทศเพื่อนบ้านกรณีของ สปป.ลาว ในโอกาสและกรณีต่าง ๆ อาทิ ล่าสุดการประชุมเสวนาครั้งใหญ่เพื่อเตรียมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ของกระทรวงการต่างประเทศเรื่อง เรื่อง “บ้านใกล้เรือนเคียง
: รู้เขาเพื่อก้าวข้ามอดีต” วันที่ 26 กันยายน 2555 ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี กรุงเทพฯ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ ได้ Up load การสัมมนาไว้ในเว็บไซต์ ดังนี้
          http://www.youtube.com/watch?v=DZCQ0p9GZdk,
          http://www.youtube.com/watch?v=CKqVP3uYYSo&feature=relmfu
          http://www.youtube.com/watch?v=7PaUT7BPZWE&feature=relmfu

การแสดงผลงานศิลปกรรม
         เป็นสมาชิกกลุ่มศิลปิน กรรมการวิชาการ และร่วมแสดงผลงานศิลปกรรมและศิลปะภาพถ่าย กับ แนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย, ศิลปกรรมเพื่อสันติภาพประชาธิปไตย และความเป็นธรรม, กลุ่มศิลปินอีสาน, ศิลปินไทอีสาน, ศิลปินสองฝั่งโขง ฯลฯ ประมาณ 30 ครั้ง

รางวัลสำคัญทางศิลปกรรม
          รางวัลเกียรตินิยมยอดเยี่ยม นิทรรศการศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (2535)
และ 2) ได้รับรางวัลที่ 3 ประกวดโปสเตอร์ต่อต้านพยาธิ ของกระทรวงสาธารณสุข (2529) ได้รับรางวัลชมเชยประติมากรรม การแสดงศิลปกรรม วค บุรีรัมย์ พ.ศ. 2524

ส่วนที่ 3 : ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ วรรณกรรม และการนำเสนอบทความวิชาการระดับนานาชาติครั้งสำคัญ

ผลงานวิจัยที่สำเร็จเผยแพร่เป็นรูปเล่ม และนำเสนอต่อเวที-วงวิชาการ

           2535 : การวิเคราะห์ทัศนศิลป์เพื่อชีวิตในประเทศไทย ตั้งแต่ 2516-2533 (งานวิจัย ได้ รับคัดเลือกทุนส่งเสริมงานวิจัยจาก มศว ประสานมิตร)
          2539 : พุทธประติมากรรมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง กรณีศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด (งบประมาณโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว.)
         2540 : พุทธประติมากรรมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง กรณีศึกษา จังหวัดมหาสารคาม
(งบประมาณโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว.)
        2541 : กลุ่มช่างพุทธประติมากรรมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง   (งบประมาณโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว.)
       2542 : การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะรูปแบบศิลปะและการจัดการเครื่องปั้นดินเผา ด่านเกวียนอำเภอโชคชัย นครราชสีมา กับ บ้านหม้อ อำเภอเมือง มหาสารคาม
(งบประมาณโครงการเมธีวิจัย อาวุโส สกว.)
      2543 : ฐานทำเนียบศิลปินร่วมสมัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(งบประมาณแผ่นดิน)
     2543 : ลักษณะรูปแบบและการจัดการผ้าทอที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งและการพึ่งตนเองของชุมชนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศึกษากรณีผ้าไหมแพรวาสายวัฒนธรรมผู้ไท จังหวัดกาฬสินธุ์ (งบประมาณสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ)
     2544 : การถ่ายทอดวิธีคิดและกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเชิงพัฒนาในชุมชนที่ผลิต เครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (งบประมาณโครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาใน สถาบันอุดมศึกษาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจทบวงมหาวิทยาลัย)
2545 : ลาวตอนล่าง “สะหวันนะเขต สาละวัน เซกอง จำปาสัก และอัตตะปือ : ห้าแขวงแห่งลาว
ตอนล่าง” (งบประมาณโครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค สกว.)
     2546 : การวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการออกแบบ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และการนำเสนอ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (งบประมาณทบวงมหาวิทยาลัย)
      2546 : การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในชุมชนผู้ไท จังหวัดกาฬสินธุ์ (งบประมาณสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว.)
     2546-47 : การวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าแพรวา (งบประมาณ สำนักงานกองทุน สนับสนุนการ วิจัย สกว.)
     2547 : การศึกษาภูมิปัญญาการการผลิตผ้าย้อมสีธรรมชาติเพื่อพัฒนาสู่ระบบอุตสาหกรรม(งบประมาณสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ)
    2548 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อมในเขตจังหวัดขอนแก่น มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ (งบประมาณกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม)
    2549 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อมของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 อุดรธานี (งบประมาณกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม)
     2550-2551 : งานวิจัยเรื่อง ‘Si Phan Don’, The Four Thousand Islands in Kong Riverat South of Laos PDR. :Cultural Space, Tourism Space and Negotiating Identity in The Process of Globalization ทุนวิจัยจาก Ford Foundation ทำงานวิจัยในฐานะวิจัย เอเชีย ของ ASIA Fellows Awards รุ่นที่ 8
    2552 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อมในเขตจังหวัดขอนแก่น มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ (รุ่นที่ 2 งบประมาณกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม)
    2553 : โครงการวิจัย ความคิดเห็นของคนลาวต่อคนไทยและรัฐบาลไทย
(งบประมาณกระทรวงการต่างประเทศ ทำงานร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรี สปป.ลาว)
    2553-2560 : เรื่อง จิตรกรรมฝาผนังพุทธอุโบสถอีสานในบริบทสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นสมัยประเทศสยาม (Murals in Buddhist Temples of Isan in the Local Social Cultural Context of Siam Nation State) เป็นโครงการวิจัยที่ใช้งบประมาณส่วนตัวของผู้วิจัย เพื่ออิสรภาพทางวิชาการ พื้นที่ และเวลา ที่ไร้เงื่อนไขการกำกับควบคุมจากภายนอก

ตำราและงานวิชาการที่พิมพ์เผยแพร่เป็นรูปเล่ม

2537 : ทัศนศิลป์เพื่อชีวิตในประเทศไทย (สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์)
2539 : เกษมราษฎร์ กษัตริย์ผดุง ศาสน์รุ่ง เรืองอีสาน (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม                      พิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
             เนื่องในปีกาญจนา ภิเษก 2539)
2541 : ศิลปนิยม
2543 : สุนทรียศาสตร์ในทัศนศิลป์
2545 : ชุมชนเครื่องปั้นดินเผา
2546 : ชุมชนผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ
2546 : ทัศนศิลป์ปริทัศน์ (สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์)
2547 : ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกฉบับสมบูรณ์ (สำนักพิมพ์วาดศิลป์ พิมพ์ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2563)
2553 : หลวงพระบางเมืองมรดกโลก : ราชธานีแห่งความทรงจำและพื้นที่พิธีกรรม ในกระแสโลกาภิวัตน์ กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์สายธาร
2559 : หนังอิเลคทรอนิคส์) ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. สารานุกรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน เรื่อง “จิตรกรรมฝาผนังพุทธอุโบสถแบบดั้งเดิมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”(2559) มหาสารคาม ; มหาวิทยาลัย มหาสารคาม (สนับสนุนโดยงบประมาณวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
2559 : บทความถูกคัดเลือกตีพิมพ์ในหนังสือ Tourism and Monarchy in Southeast Asia โดยมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร อ้างอิง คือ Supachai Singyabuth (2016). Walking from the “Head to Tail of Town”: The Political Identities and Social Memories of Luang Prabang. In Ploysri Porananond and Victor T. King (eds.)Tourism and Monarchy  in Southeast Asia. Newcastle upon Tyne, UK: Cambridge Scholars Publishing. pp.143-165
2559 : ตำราวิชา สุนทรียศาสตร์ AESTHETICS ในโครงการเสริมสร้างศักยภาพทางวิชาการศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2560 : เอกสารคำสอนรหัสวิชา 0608101 วิทยาระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพทางศิลปกรรมศาสตร์ ADVANCED QUALITATIVE RESARCH METHODOLOGY IN FINE AND APPLIED ART(พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุงใหม่)

วรรณกรรมและสารคดี

2536 : คนเถื่อน (รวมเรื่องสั้นเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรท์ ปี 2536)
2537 : ใต้เงาอสูร (นวนิยายสะท้อนชีวิตศิลปินเพื่อชีวิตในประเทศไทย)
2538 : เพลงของเขา (เรื่องสั้นรางวัลสุภาว์ เทวากุล โดยสมาคมนักเขียนแห่ง ประเทศไทย)
2541 : มิตรภาพที่ชายป่า (วรรณกรรมเยาวชน ได้รับคัดเลือกเป็นหนังสืออ่านประกอบของนักเรียนระดับประถม-มัธยมศึกษา)
2542 : จะไปให้ถึงดวงดาว (รวมเรื่องสั้น ได้รับคัดเลือกเป็น ได้รับคัดเลือกให้เป็น หนังสืออ่านประกอบของนักเรียนระดับประถม-มัธยมศึกษา)
2546 : ลาวตอนล่าง (โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค สกว )
2548 : มาดเกรียง : วิถีแห่งคนไพรและสายน้ำ (ชุดโครงการสารคดีชนเผ่าในอุษาคเนย์)
2553 : หลวงพระบางเมืองมรดกโลก : ราชธานีแห่งความทรงจำและพื้นที่พิธีกรรมในกระแสโลกาภิวัตน์ (สำนักพิมพ์สายธาร)

บทความวิชาการ และสารคดีกึ่งวิชาการ

           เขียนบทความวิชาการ บทสารคดีเกี่ยวกับทัศนศิลป์ ศิลปวัฒนธรรมอีสาน ศิลปศึกษา ศิลปะในระบบอุตสาหกรรม ศิลปวัฒนธรรมและชาติพันธุ์วิทยาในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงเป็นจำนวนมากกว่า 50 เรื่อง ซึ่งได้นำเสนอบนเวทีสัมมนาวิชาการทางศิลปกรรม และมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ ตีพิมพ์ในหนังสือวารสาร และนิตยสารต่าง ๆ ในประเทศและต่างประเทศ ดังปรากฏหลักฐานเบื้องต้นที่บัญชีรายชื่อ ผลงานของศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ ในระบบการสืบค้น สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งระบบสืบค้นในเว็บ Google

นำเสนอบทความวิชาการในงานประชุมทางวิชาการนานาชาติ

          2548 : เสนอบทความวิชาการเรื่อง ‘Luang Prabang The World Cultural Heritage : Transborder Nation Space and Transborder Ritual Space’ ที่งานสัมมนา The International Conference “Transborder Issues in The GreasterMekong Sub-Region ” วันที่ 30 มิถุนายน-2 กรกฎาคม 2548 จัดโดย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
         2548 : เสนอบทความวิชาการเรื่อง ‘Luang Prabang as Social Space’ ที่งานสัมมนานานาชาติ The Regional Seminar “(Re)Inventing Tradition; Articulating Development in The Mekong Region”. ในระหว่างวันที่ 21-23 เมษายน 2548 ณ An Giang University เมือง AnGiang เวียดนาม
         2549 : เป็นคณะกรรมการดำเนินงานสัมมนานานาชาติ และนำเสนอบทความวิชาการ  เรื่อง ‘LuangPrabang as Articulated Space’ ที่งานสัมมนานานาชาติ The Mekong Regional Conferenceจัดขึ้นที่โรงแรมสันติรีสอร์ทมืองหลวงพระบาง ในระหว่างวันที่ 20-25 เมษายน 2549 
          2550 : เสนองานวิจัยเรื่อง เรื่อง ‘Si Phan Don’, The Four Thousand Islands in  Kong Riverat South of Laos PDR. :Cultural Space, Tourism Space and Negotiating Identity in The Process of Globalization ของนักวิจัย ASIA Fellows Awards รุ่นที่ 8 ในวันที่ 12-14 กันยายน 2550 ณ โรงแรมมณเฑียรกรุงเทพมหานคร

ผลงานที่ตีพิมพ์ระดับชาติ

         2558 : บทความวิจัยเรื่องการเดินหัวเมืองหางเมือง : การเมืองเรื่องอัตลักษณ์และ ความทรงจำทางสังคมของหลวงพระบางเมืองมรดกโลก. ใน ชูศักดิ์ วิทยาภัค, วัฒนธรรมคืออำนาจ ปฏิบัติการแห่งอำนาจ ตัวตนและชนชั้นใหม่ในพื้นที่วัฒนธรรมวัฒนธรรมคืออำนาจ : ปฏิบัติการแห่งอำนาจ และชนชั้นในพื้นที่วัฒนธรรม (หน้า 32-70). เชียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์.
       2560 : บทความวิจัยเรื่อง จิตรกรรมฝาผนังพุทธอุโบสถอีสานในบริบทสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นสมัยประเทศสยาม (Murals in Buddhist Temples of Isan in the Local Social Cultural Context of Siam Nation State) ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม (TCI ฐาน 1) Volum 5 No 2 ประจำเดือน มกราคม-พฤษภาคม 2560.